ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ทำไมเราถึงต้องทำ Vacuum ใน Condenser

มีน้องมาถามหลังไมค์ครับ.."ถ้า Condenser เกิด back pressure ขึ้นมาจะมีผลกระทบอะไรโดยตรงกับ Steam turbine???" ก่อนตอบคำถามอยากเล่าให้ฟังก่อนว่า..ทำไมเราถึงต้องทำ Vacuum ใน Condenser เพราะมันเกี่ยวเนื่องกัน วัตถุใดๆก็ตามที่เป็นของแข็งถ้าเคลื่อนที่ตัดกับอากาศ ไม่ว่าจะเป็นแนวใดๆ แนวตรง ขวาง ดิ่ง หรือ การหมุน ภายใต้แรงดันบรรยากาศของโลก จะเกิดความร้อนขึ้นกับวัตถุนั้น เนื่องจากแรงเสียดทาน (air friction) ถ้าเราหมุน Steam Turbine โดยไม่มี Vacuum ก็จะทำให้ Turbine blade เกิด overheat ดั งนั้นเราจึงต้องทำให้เกิด Vacuum เพื่อลดแรงเสียดทานจากแรงดันบรรยากาศโลก แล้วทำไม Gas turbine หมุนได้โดยไม่ต้องมี Vacuum??? เพราะ GT มี cooling air ไงครับต่างจาก ST ที่ไม่มีระบบ cooling ใดๆ และที่สำคัญที่สุดคือ Vacuum จะเป็นตัวทำให้ steam flow ไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดแรงต้านใดๆต่อการไหลของ steam กลับมาที่คำถาม..ถ้าหลังจาก ST on load ไปแล้ว หมายถึงมี steam flow เกิดขึ้นแล้ว ถ้าเกิด back pressure ขึ้นมาจะมีผลกระทบอะไรโดยตรงกับ Turbine อย่างแรก back pressure จะทำให้การไหลของ steam เปลี่ยน
โพสต์ล่าสุด

Sub_Station

มารู้จักชนิดของสถานีไฟฟ้าแ รงสูงกัน รูปแบบของสถานีไฟฟ้าแรงสูงส ามารถแบ่งออกตามชนิดของฉนวน ในการดับอาร์คของสวิตซ์ตัดต อน (Power Circuit Breaker )ของสถานีไฟฟ้านั้น ซึ่งมี 2 แบบ คือ 1) สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้ฉนวน อากาศ (Air Insulated Substation : AIS) • ข้อดีของสถานีไฟฟ้าแบบ AIS คือ - ระบบสามารถออกแบบให้ยืดหยุ่ นกับการใช้งาน, อุปกรณ์ราคาถูก, อุปกรณ์แต่ละตัวแยกอิสระกัน  เช่น เซอร์กิตเบรคเกอร์, ใบมีดตัดตอน, หม้อแปลงวัดกระแส, หม้อแปลงวัดแรงดัน, กับดักฟ้าผ่า, บัสบาร์, สามารถจัดหามาทดแทนได้ง่าย • ข้อเสียของสถานีไฟฟ้าแบบ AIS คือ - ต้องใช้พื้นที่ในการก่อสร้า ง มากกว่าแบบ GIS มากถึง 5-6 เท่า อุปกรณ์, ต้องมีความระมัดระวังในการป ฎิบัติงานเพื่อระบบเป็นแบบเ ปิด อุปกรณ์แต่ละส่วน เชื่อมต่อกันด้วยสายไฟแรงสู ง และต้องเลิอกฉนวนให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อม 2) สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้ฉนวน ก๊าซ (Gas Insulated Substation : GIS) • ข้อดีของสถานีไฟฟ้าแบบ GIS คือ - ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อ ย, ติดตั้งได้รวดเร็วกว่า, มีความปลอดภัยในการใช้งานสู งกว่า, ไม่มีผลกระทบจากมลภาวะภายนอ ก, การบำรุงรักษาน้อยกว่า • ข้อเสียขอ

Switchgear

เรียนรู้เรื่องระบบไฟฟ้ากำลัง (3) Switchgear อุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้า (Switch gear)      ระบบการจ่ายไฟฟ้าดั้งเดิมเริ่มขึ้นจากการกระจุกตัวภายในเมือง การจ่ายไฟฟ้าเริ่มจากแรงดันไฟฟ้าต่ำ 110-220 Volt เมื่อมีการขยายตัวสูงขึ้นของการใช้ไฟฟ้า ระยะทางการจ่ายไฟฟ้าเริ่มไกลออกไป แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายจึงต้องเพิ่มขึ้นเพื่อลดกระแสในสายไฟฟ้า เป็นการลดการสูญเสียพลังงานในสายไฟฟ้าและลดปัญหาเรื่องแรงดันไฟฟ้าตก แรงดันไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเข้าสู่ระบบแรงดันปานกลาง (Medium Voltage) 3000 ถึง 33000 Volts ไปจนถึงระดับแรงสูง (High Voltage) 69000 ถึง 230000 Volts และปัจจุบันเข้าสู่ระดับสูงพิเศษ (Extra High or Ultra High Voltage) ที่ระดับแรงดัน 500000 Volts      การจ่ายไฟฟ้าไปในระยะทางทั้งใกล้และไกล จึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันหรือใช้ตัด-ต่อไฟฟ้า ดังนี้ อุปกรณ์ตัด-ต่อไฟฟ้าแรงต่ำ (Low Voltage Switchgear) ฟิวส์ (Fuse)      ฟิวส์ทำหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน (Over Load) และป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า (Short circuit)      ฟิวส์ทำงานโดยอาศัยหลักการของการหลอมละลายของโลหะ ซึ่งตัวฟิวส์ เป็นแผ่นโลหะบาง

กระบอกสูบ Cylinder

การเลือกซื้อกระบอกสูบนิวเมติกที่ดีเพื่อนำมาใช้งานนิวเมติกของคุณ กระบอกสูบนิวเมติก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า กระบอกลมนิวเมติก มีอยู่หลายชนิดด้วยกันและมีความหลากหลายในการใช้งานในระบบอัตโนมัติ เมื่อคุณต้องการเลือกประเภทของกระบอกสูบหรือ กระบอกลมนิวเมติก เพื่อเหมาะสมกับทำงานในโหลดที่เฉพาะเจาะจงคุณควรพิจารณาหลักเกณฑ์การออกแบบตลอดจปัจจัยสำคัญหลายๆอย่างที่มีผลต่อการทำงานนั้นของ กระบอกลม  หากคุณต้องการที่จะเลือกซื้อกระบอกลมสักชุดมาใช้ในลักษณะติดตั้งเป็นของใหม่หรือว่าทดแทนของเดิม ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาแนะนำเคล็ดลับดีๆในการเลือกกระบอกที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาให้กับงานของเรากันครับ กระบอกลมนิวเมติก แรงดันของอากาศภายในกระบอกลม คุณรู้หรือไม่ว่าอากาศที่จ่ายให้กับ กระบอกสูบนิวเมติกส์ นั้นมีความสำคัญต่อการทำงานที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่สูงสุดของกระบอกลมเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่อากาศถูกบีบอัดภายใน กระบอกลม เองต้องเพียงพอเพื่อดำเนินงานทางกลที่สร้างขึ้นโดยตัวถัง กระบอกลม เอง ดังนั้นเวลาคุณเลือกซื้อกระบอกลมคุณควรตรวจสอบการอัดอากาศของแต่ละรุ่นด้วยว่าเหมาะสมกับการใช้งานของคุณหรือไม่ ความต้องการ

Water Hammer

วอเตอร์แฮมเมอร์ วอเตอร์แฮมเมอร์ (water Hammer) วอเตอร์แฮมเมอร์ (water Hammer) เป็นปรากฏการณ์ที่ความดันในท่อมีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรุนเเรงและฉับพล ัน โดยมีความดันเพิ่มขึ้นและลดลงจากความดันเดิมในลักษณะเป็นคลื่นขึ้นลงสลับกันไปเป็นอนุกรม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวอเตอร์แฮมเมอร์ ก็คือมีการเปลี่ยนเเปลงความเร็วของการไหลในท่ออย่างกระทันหัน เช่น ปิดประตูน้ำอย่างกะทันหัน เป็นต้น เมื่อมีการเปลี่ยนเเปลงความเร็วในลักษณะดังกล่าว โมเมนตัมของของเหลวจะถูกเปลี่ยนไปกลายเป็นแรงกระเเทกบนประตูน้ำและผนังของท่อ แรงกระแทกที่เกิดขึ้นถ้าหากมากเกินกว่าความสามารถของท่อจะรับได้ก็จะทำให้ท่อระเบิดหรือทำให้ระบบท่อเเละอุปกรณ์เสียหายอย่างรุนแรงขึ้นได้ ระดับความเสียหายเนื่องจากวอเตอร์เเฮมเมอร์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความยืดหยุ่น (EIasticlty) ของท่อ ความเร็วของการไหล อัตราการเปลี่ยนเเปลงความเร็วการไหล ลักษณะการยึดท่อให้อยู่กับที่ และ ระบบป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ที่ติดตั้งไว้ เป็นต้น การป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ วิธีป้องกันไม่ให้วอเตอร์แฮมเมอร์ที่เกิดขี้นมีความรุนเเรงมากจนทำความเสียหายให้แก่ระบบท่อนั้นทำโดยการลดความ