ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Water Hammer


วอเตอร์แฮมเมอร์
วอเตอร์แฮมเมอร์ (water Hammer)
วอเตอร์แฮมเมอร์ (water Hammer) เป็นปรากฏการณ์ที่ความดันในท่อมีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรุนเเรงและฉับพลัน โดยมีความดันเพิ่มขึ้นและลดลงจากความดันเดิมในลักษณะเป็นคลื่นขึ้นลงสลับกันไปเป็นอนุกรม
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวอเตอร์แฮมเมอร์ ก็คือมีการเปลี่ยนเเปลงความเร็วของการไหลในท่ออย่างกระทันหัน เช่น ปิดประตูน้ำอย่างกะทันหัน เป็นต้น เมื่อมีการเปลี่ยนเเปลงความเร็วในลักษณะดังกล่าว โมเมนตัมของของเหลวจะถูกเปลี่ยนไปกลายเป็นแรงกระเเทกบนประตูน้ำและผนังของท่อ แรงกระแทกที่เกิดขึ้นถ้าหากมากเกินกว่าความสามารถของท่อจะรับได้ก็จะทำให้ท่อระเบิดหรือทำให้ระบบท่อเเละอุปกรณ์เสียหายอย่างรุนแรงขึ้นได้ ระดับความเสียหายเนื่องจากวอเตอร์เเฮมเมอร์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความยืดหยุ่น (EIasticlty) ของท่อ ความเร็วของการไหล อัตราการเปลี่ยนเเปลงความเร็วการไหล ลักษณะการยึดท่อให้อยู่กับที่ และ ระบบป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ที่ติดตั้งไว้ เป็นต้น
การป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์
วิธีป้องกันไม่ให้วอเตอร์แฮมเมอร์ที่เกิดขี้นมีความรุนเเรงมากจนทำความเสียหายให้แก่ระบบท่อนั้นทำโดยการลดความดันที่เกิดขึ้นให้เหลือยู่ในระดับที่ยอมให้โดย
1 ) เพิ่มระยะในการปิดประตูน้ำ หรือเปลี่ยนแปลงความเร็วโดยใช้เวลาให้มากกว่าเวลาวิกฤติ (crltlcaI Time) Tc มากๆ
2) โดยการให้น้ำไหลออกมาจากท่อบ้างในขณะที่เกิดความดันมาก ๆ
3) โดยใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นร่วมกัน
อุปกรณ์ป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์
การป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์จากการหยุดเดินเครื่องสูบน้ำอาจทำได้โดยการลดความเร็วของเครื่องยนต์ลงทีละน้อยเป็นขั้นๆจนอัตราการไหลน้อยมากแล้วจึงดับเครื่องยนต์ ในกรณีที่ต้นกังลังเป็นมอเตอร์ซึ่งมีรอบการหมุนคงที่ก็ให้ใช้วิธีปิดประตูจ่ายน้ำลงทีละน้อยเป็นขั้นๆ เช่นเดียวกันจนกระทั่งปิดสนิทหรือเกือบสนิทแล้วจึงปิดสวิทช์ การเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำก็ทำในลักษณะเดียวกันแต่ย้อนขั้นตอน อย่างไรก็ตาม บางครั้งมีความจำเป็นต้องหยุดเดินเครื่องอย่างกะทันหัน หรืออาจมีสาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เครื่องยนต์เสีย เป็นต้น ดังนั้นในระบบที่มีโอกาสเกิดวอเตอร์แฮมมอร์ได้ง่ายจึงควรมีอุปกรณ์ป้องกันช่วย เช่น pressure Rellef valve , Air lnlet-relief valve , Airchamber , surge suppressor และ surge Tank เป็นต้น
1. pressure Relief valve เป็นวาล์ว ที่ทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกันกับวาล์วนิรภัย (safety valve) กล่าวคือเมื่อความดันในท่อสูงกว่าที่กำหนดไว้ มันก็จะ เปิดกว้างออกและระบายน้ำทิ้งเพื่อลดความดันลง ความดันที่ตั้งไว้อาจควบคุมโดยสปริงหรือน้ำหนักก็ได้ อุปกรณ์แบบนี้เหมาะสำหรับท่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ซึ่งการระบายน้ำทิ้งจะมีผลช่วยให้ลดความดันในท่อลงไดับ้าง
2. Air lnlet-relief valve เป็นวาล์วที่จะเปิดให้อากาศไหลเข้ามาในท่อโดยอัตโนมัติเมื่อความดันในท่อต่ำกว่าความดันของบรรยากาศ ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้ท่อแบนลง อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ยังใช้สำหรับระบายอากาคออกจากท่อด้วย โดยการติดตั้งไว้หลังท่อในบริเวณที่อยู่สูงกว่าแนวท่อส่วนอื่น อากาศที่ติดมากับน้ำก็จะไหลเข้าไปในอุปกรณ์นี้แล้วทำให้ลูกลอยลดระดับลงวาล์วเปิดและอากาศก็จะถูกระบายออกไป การที่จำเป็นต้องระบายอากาศในท่อออกไปก็เพราะว่าถ้าความเร็วของการไหลไม่มากพอโพรงอากาศในท่อจะเป็นสิ่งกีดขวางการไหลโดยทำให้การไหลในช่วงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการไหลในทางน้ำเปิดแทนที่จะเป็นการไหลเต็มท่อ
3. Air chamber เป็นอุปกรณ์ช่วยลดความรุนแรงของวอเตอร์แฮมเมอร์อีกแบบหนึ่งที่มีลักษณะเป็นถังบรรจุอากาศต่อเข้ากับหลังท่อ อากาศในถังซึ่งยืดหดตัวได้ดีกว่าน้ำก็จะทำหน้าที่ผ่อนคลายความรุนแรงลงเมื่อมีความดันเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันนอกจากนั้นอุปกรณ์ชนิดนี้ยังใช้ต่อเข้ากับด้านจ่ายของปั๊มแบบสูบชักก่อนส่งน้ำเข้าสู่ระบบ เพื่อให้การไหลสม่ำเสมอตลอดเวลาอีกด้วย
4. surge suppressor เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับ Air chamber แต่แทนที่จะใช้อากาศเป็นตัวผ่อนคลายแรงดันก็เปลี่ยนไปใช้สปริงแทน อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้กับท่อขนาดเล็ก เช่น ท่อน้ำใช้ในบ้านมากกว่าที่จะใช้กับระบบท่อขนาดใหญ่
5. surge Tank เป็นถังช่วยลดความดันที่เพิ่มขึ้นจากวอเตอร์แฮมเมอร์ในระบบขนาดใหญ่ซึ่งมีทั้งประเภทเปิดดัานบนของถังเเละแบบปิด สำหรับแบบเปิดนั้นความสูงของถังจะต้องมากพอที่จะไม่ให้น้ำไหลล้นออกมาได้ ส่วนในแบบปิดจะมีลักษณะคล้ายกับ Air chamber แต่มีท่อขนาดเดียวกันกับท่อส่งน้ำเป็นตัวจ่ายน้ำเข้าไปในถังอีกทีหนึ่ง การลดความรุนแรงของความดันจะถูกควบคุมโดยการไหลของน้ำเข้าไปใน surge Tank และการยืดหดตัวของอากาศในถัง
ในระบบท่อส่งน้ำที่มีความยาวมากและมีความลาดเทสูงขึ้นจากปั๊มหรือท่อไม่ยาวมากแต่มีความลาดเทจากปั๊มชันมาก การติดตั้งเชควาล์วประเภทไม่ปิดกระ ทันหัน (Non-slam) ซึ่งออกแบบให้ปิดเมื่อความเร็วเป็นศูนย์ คือไม่เปิดโอกาสให้น้ำในท่อไหลย้อนกลับมาก็จะช่วยลดวอเตอร์แฮมเมอร์ลงได้ นอกจากนั้น ถ้าหากก่อนเดินเครื่องสูบน้ำปริมาณน้ำในท่อยังมีอยู่ไม่เต็มเมื่อเริ่มเดินเครื่องควรจะเปิดประตูจ่ายน้ำเพียง 3/4 ของอัตราการสูบที่ต้องการต่อเมื่อมีน้ำบรรจุเต็มท่อแล้วจึงค่อย ๆ เปิดประตูน้ำเพิ่มขึ้น วิธีที่กล่าวนี้จะช่วยลดความดันจากวอเตอร์แฮมเมอร์ลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ซึ่งมีรอบคงที่ตลอดช่วงการทำงาน
Cr:https://sites.google.com/site/thaiwatercity/water-hammer

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไมเราถึงต้องทำ Vacuum ใน Condenser

มีน้องมาถามหลังไมค์ครับ.."ถ้า Condenser เกิด back pressure ขึ้นมาจะมีผลกระทบอะไรโดยตรงกับ Steam turbine???" ก่อนตอบคำถามอยากเล่าให้ฟังก่อนว่า..ทำไมเราถึงต้องทำ Vacuum ใน Condenser เพราะมันเกี่ยวเนื่องกัน วัตถุใดๆก็ตามที่เป็นของแข็งถ้าเคลื่อนที่ตัดกับอากาศ ไม่ว่าจะเป็นแนวใดๆ แนวตรง ขวาง ดิ่ง หรือ การหมุน ภายใต้แรงดันบรรยากาศของโลก จะเกิดความร้อนขึ้นกับวัตถุนั้น เนื่องจากแรงเสียดทาน (air friction) ถ้าเราหมุน Steam Turbine โดยไม่มี Vacuum ก็จะทำให้ Turbine blade เกิด overheat ดั งนั้นเราจึงต้องทำให้เกิด Vacuum เพื่อลดแรงเสียดทานจากแรงดันบรรยากาศโลก แล้วทำไม Gas turbine หมุนได้โดยไม่ต้องมี Vacuum??? เพราะ GT มี cooling air ไงครับต่างจาก ST ที่ไม่มีระบบ cooling ใดๆ และที่สำคัญที่สุดคือ Vacuum จะเป็นตัวทำให้ steam flow ไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดแรงต้านใดๆต่อการไหลของ steam กลับมาที่คำถาม..ถ้าหลังจาก ST on load ไปแล้ว หมายถึงมี steam flow เกิดขึ้นแล้ว ถ้าเกิด back pressure ขึ้นมาจะมีผลกระทบอะไรโดยตรงกับ Turbine อย่างแรก back pressure จะทำให้การไหลของ steam เปลี่ยน

Sub_Station

มารู้จักชนิดของสถานีไฟฟ้าแ รงสูงกัน รูปแบบของสถานีไฟฟ้าแรงสูงส ามารถแบ่งออกตามชนิดของฉนวน ในการดับอาร์คของสวิตซ์ตัดต อน (Power Circuit Breaker )ของสถานีไฟฟ้านั้น ซึ่งมี 2 แบบ คือ 1) สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้ฉนวน อากาศ (Air Insulated Substation : AIS) • ข้อดีของสถานีไฟฟ้าแบบ AIS คือ - ระบบสามารถออกแบบให้ยืดหยุ่ นกับการใช้งาน, อุปกรณ์ราคาถูก, อุปกรณ์แต่ละตัวแยกอิสระกัน  เช่น เซอร์กิตเบรคเกอร์, ใบมีดตัดตอน, หม้อแปลงวัดกระแส, หม้อแปลงวัดแรงดัน, กับดักฟ้าผ่า, บัสบาร์, สามารถจัดหามาทดแทนได้ง่าย • ข้อเสียของสถานีไฟฟ้าแบบ AIS คือ - ต้องใช้พื้นที่ในการก่อสร้า ง มากกว่าแบบ GIS มากถึง 5-6 เท่า อุปกรณ์, ต้องมีความระมัดระวังในการป ฎิบัติงานเพื่อระบบเป็นแบบเ ปิด อุปกรณ์แต่ละส่วน เชื่อมต่อกันด้วยสายไฟแรงสู ง และต้องเลิอกฉนวนให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อม 2) สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้ฉนวน ก๊าซ (Gas Insulated Substation : GIS) • ข้อดีของสถานีไฟฟ้าแบบ GIS คือ - ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อ ย, ติดตั้งได้รวดเร็วกว่า, มีความปลอดภัยในการใช้งานสู งกว่า, ไม่มีผลกระทบจากมลภาวะภายนอ ก, การบำรุงรักษาน้อยกว่า • ข้อเสียขอ

Switchgear

เรียนรู้เรื่องระบบไฟฟ้ากำลัง (3) Switchgear อุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้า (Switch gear)      ระบบการจ่ายไฟฟ้าดั้งเดิมเริ่มขึ้นจากการกระจุกตัวภายในเมือง การจ่ายไฟฟ้าเริ่มจากแรงดันไฟฟ้าต่ำ 110-220 Volt เมื่อมีการขยายตัวสูงขึ้นของการใช้ไฟฟ้า ระยะทางการจ่ายไฟฟ้าเริ่มไกลออกไป แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายจึงต้องเพิ่มขึ้นเพื่อลดกระแสในสายไฟฟ้า เป็นการลดการสูญเสียพลังงานในสายไฟฟ้าและลดปัญหาเรื่องแรงดันไฟฟ้าตก แรงดันไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเข้าสู่ระบบแรงดันปานกลาง (Medium Voltage) 3000 ถึง 33000 Volts ไปจนถึงระดับแรงสูง (High Voltage) 69000 ถึง 230000 Volts และปัจจุบันเข้าสู่ระดับสูงพิเศษ (Extra High or Ultra High Voltage) ที่ระดับแรงดัน 500000 Volts      การจ่ายไฟฟ้าไปในระยะทางทั้งใกล้และไกล จึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันหรือใช้ตัด-ต่อไฟฟ้า ดังนี้ อุปกรณ์ตัด-ต่อไฟฟ้าแรงต่ำ (Low Voltage Switchgear) ฟิวส์ (Fuse)      ฟิวส์ทำหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน (Over Load) และป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า (Short circuit)      ฟิวส์ทำงานโดยอาศัยหลักการของการหลอมละลายของโลหะ ซึ่งตัวฟิวส์ เป็นแผ่นโลหะบาง